การย้ายเว็บ WordPress เค้าทำกันได้อย่างไร ??

การย้ายเว็บ Wordpress เค้าทำกันได้อย่างไร ??
https://www.youtube.com/embed/6tl8ohs_1KY?feature=oembed&autoplay=1
ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)

ในวีดีโอที่แล้ว ในซีรีย์ เรียน WordPress เราเรียนเรื่องการสำรองข้อมูลบน WordPress ด้วย Plugin Duplicator กันไปแล้วนะครับ วีดีโอนี้ เราจะมาทำการย้ายเว็บ WordPress กันครับ ไม่ว่าเราจะย้ายจากเครื่องของเรา ไปโฮส หรือจาก โฮสหนึ่งไปอีกโฮสหนึ่ง ก็ใช้หลักการเดียวกันในการย้ายครับ ลองมาดูกันครับ

ก่อนอื่นให้เราเตรียม Package จาก Duplicator บนเครื่องต้นฉบับก่อนนะครับ เดี๋ยวผมจะเตรียม Package ให้ดูอีกครั้งอย่างเร็วๆครับ สำหรับการสำรองข้อมูลด้วย Duplicator แบบละเอียดผมได้ทำให้ดูในวีดีโอที่แล้วนะครับ

  1. เมื่อเราอยู่ที่ระบบหลังบ้านของ WordPress แล้วนะครับ ให้เราไปที่เมนู Duplicator แล้วไปที่ Packages ได้เลยครับ
  2. เราจะเข้ามาอยู่ที่หน้า Pakages ของ Duplicator ครับ ต่อจากนั้น ให้เราสร้าง Packages โดยกดปุ่ม Create New กันได้เลย
  3. ทำตาม Step ไล่จากบนลงล่างกันได้เลย
    • Requirement ต้อง Pass เป็นสีเขียวนะครับ ถ้าไม่ Pass เราสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้ แล้วให้แก้ไขตามได้เลย แต่ถ้าเราแก้ไขไม่ได้ เราก็ต้องขอให้ทางเว็บโฮสติ้งของเราช่วยครับ
    • ชื่อ Package เราตั้งเองได้เลย
    • Storage ไม่ต้องเลือกครับ เพราะเวอร์ชันฟรี เลือกไม่ได้
    • Archive ถ้าเราจะย้ายเว็บไซต์ ก็ไม่ต้องเลือกอะไรครับ เพราะเราจะต้องย้ายทุกไฟล์
    • Installer ยังไม่ต้องใส่ข้อมูลก็ได้ครับ
    • เสร็จแล้วตรวจสอบข้อมูล แล้วกดปุ่ม Next ได้เลย
  4. หน้าจอ Scan จะเป็นสรุปว่า เราจะ Backup อะไรบ้าง ให้ตรวจสอบ ส่วนที่เป็นสีแดงครับ เพราะอาจจะมี Error ได้ อย่างของผมมีเตือนว่า File ใหญ่ อาจจะเอาไป restore ที่ปลายทางไม่ได้สำหรับบางโฮส แต่โฮสที่ผมใช้ไม่เป็นไรครับ ก็ผ่านไปได้เลย ให้มีติ๊ก Yes ด้านล่าง แล้วกดปุ่ม Build ได้เลย
  5. ให้ download ตัว Installer กับ Archive มาได้เลย หรือถ้าเราเผลอกดเปลี่ยนหน้าไป ก็ไม่ต้องตกใจ ให้เราไปที่หน้า Packages แล้วไปกด Download มาได้ครับ

ต่อไปเราจะทำการย้ายเว็บไซต์ ไปยังโฮสติ้งกันครับ โดยที่เราจะต้องมีข้อมูลดังนี้ครับ

  1. FTP : ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งไฟล์
  2. Database : ข้อมูลเกี่ยวกับฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
    • Database Host : ส่วนมากเป็น localhost
    • Database Name : ชื่อฐานข้อมูล
    • Database User : ชื่อผู้ใช้งานฐานข้อมูล
    • Database Password : รหัสผ่านฐานข้อมูล
    • Web Folder : โฟลเดอร์ เว็บของเรา ส่วนมากจะเป็น htdocs หรือ public_html

โดยข้อมูลเหล่านี้ เราจะได้จากเว็บโฮสติ้งที่เราใช้ครับ ซึ่งหลายๆเว็บโฮสติ้งก็ให้เราไปสร้างเองได้ครับ ลองปรึกษากับโฮสที่เราใช้งานอยู่ดูในครับในส่วนนี้

พอข้อมูลเราครบ เราก็จะทำการอัพโหลดกันเลย โดยผมจะใช้ตัว File Zilla เป็น FTP Client ฟรีสามารถ Download มาใช้ได้เลยครับ

1) เมื่อเปิด File Zilla ขึ้นมา ก็ให้กรอกข้อมูล FTP ได้เลย ซึ่งจะมี Host, User และ Password พอใส่ครบ กด Quick Connect ได้เลย

2) ปกติ ทางซ้ายจะเป็นเครื่องเราครับ ทางขวาจะเป็นเครื่องโฮส ให้เราเข้าไปใน Web Folder ของเราครับ ในกรณีของผมเป็น public_html ครับ ให้ double click เข้าไปครับ ถ้าใครมีไฟล์อื่นอยู่บนโฮสให้ย้ายไปเก็บไว้ที่อื่นก่อนนะครับ เดี๋ยวตอนเรา deploy มันจะไปทับครับ โดยเราอาจจะสร้าง Folder ใหม่ชื่อ backup_201612 ก็ได้ครับ แล้วย้ายไฟล์เก่าไปเก็บไว้ใน Folder ดังกล่าวครับ

3) จากนั้นให้เราไปหาไฟล์ที่เราต้องการจะอัพโหลดทางซ้ายครับ แล้วเลือกที่ไฟล์ คลิกขวา แล้วกดอัพโหลดเลยครับ จะมี 2 ไฟล์ได้แก่ ไฟล์ installer และ ไฟล์ archive ครับ ให้อัพโหลดทั้งสองไฟล์ ครับ

4) เมื่อเราอัพโหลดเสร็จ ให้เราไปที่เว็บบราวเซอร์ต่อครับ แล้วพิมพ์ชื่อโดเมนของเรา ตามด้วย installer.php ถ้าของใครเปิดมามี fail ไม่ต้องตกใจครับส่วนมากจะติด เรื่องสิทธิ์ในการเขียนข้อมูลครับ ถ้าเจอ failed ให้เรากลับไปที่ File Zilla ให้เราไปคลิกขวาที่ Web Folder ของเราในกรณีของผมจะเป็น public_html จากนั้นเลือก File Attributes ให้เราเลือก Write ทั้งสองช่องครับ ทำให้เป็นเครื่องหมายถูก โดยการคลิกสองครั้งครับ แล้วให้เรากด OK จากนั้นกลับไปที่เว็บบราวเซอร์ของเราครับ

5) ลองกด Refresh ดูว่า หาย Failed หรือยังครับ ถ้าหายแล้วก็ทำตามขั้นตอนเลย โดยโฮสทั่วไปเราจะต้องไปสร้างฐานข้อมูลมาก่อนครับ ให้เราเลือก Connect and Remove All Data จากนั้นกรอกข้อมูล เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลของเราลงไปครับ แล้วกด Test Connection ถ้า Success ถือว่าโอเคครับ แต่ถ้า Fail แสดงว่า เรากรอกข้อมูลผิด หรือฐานข้อมูลดังกล่าวไม่มีในโฮสครับ

6) เมื่อ Test Connection เสร็จแล้ว ให้เราลงมาด้านล่าง เลือก I’ve read all warnings and notices แล้วกดปุ่ม run deployment ได้เลยครับ จากนั้นจะมีหน้าต่างถามว่า เอาจริงๆแล้วนะ เรากดโอเคได้เลยครับ

7) หลังจากนั้น Duplicator จะให้เราใส่ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ เช่น URL , Path แล้วก็ Title ของเว็บไซต์ใหม่ครับ โดยปกติเค้าจะมีค่าเริ่มต้องเป็นของโฮสมาให้เราเลย หลังจากเราใส่ข้อมูลเสร็จแล้ว ให้กด run update ได้เลยครับ เมื่อเสร็จแล้วก็จะเป็น Final Step ครับ ให้เราคลิกทีละปุ่มเลย

  • เริ่มจากปุ่ม Save Permalinks เราจะต้อง login เข้ามาโดยใช้ password เดิมจากเว็บเดิมเราครับ เมื่อ login เข้ามาแล้ว ให้กด save หนึ่งครั้งครับ
  • ปุ่ม Test Site พอกดปุ๊บ เราก็จะเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเราครับ ให้เราลองดูเว็บไซต์ของเรา และลองกดเมนูดูว่า โอเคหรือเปล่าครับ
  • เมื่อเราตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้เรากดปุ่มที่ 3 ครับ Security Cleanup ลบไฟล์ installer ออกจากโฮสเพื่อความปลอดภัยครับ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีครับผม

จะเห็นได้ว่า เราสามารถย้ายเว็บไซต์ด้วย Plugin Duplicator ไม่ว่าจะเป็นการย้ายจากเครื่องเราไปโฮส หรือจากโฮสหนึ่งไปอีกโฮสหนึ่งก็สบายมากครับ


ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)
ประชาสัมพันธ์
คอร์สเรียนออนไลน์
ทำ Blog ง่ายๆ ใครก็ทำได้

Blog คือ เครื่องมือที่ใช้สร้างโอกาส 

และ สร้างตัวตนได้ ทุกยุคทุกสมัย 

ราคาปกติ 3,990 บาท
Early Bird 1,990 บาท
(สำหรับ 50 ท่านแรก)

พลากร สอนสร้างเว็บ

รับเทคนิค ความรู้ ข่าวสาร การทำเว็บไซต์

จาก พลากร สอนสร้างเว็บ

เฉพาะ สมาชิกเท่านั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *