5 คำแนะนำ สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ ยุคใหม่ !!

5 คำแนะนำ สำหรับ นักพัฒนาเว็บแอ็พพลิเคชัน รุ่นใหม่ไฟแรง
ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)

ผมได้รับคำถามเกี่ยวกับ การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับมือใหม่ มามากมายหลายคำถามเลยนะครับ ผมจึงรวบรวมขึ้นมาเป็นคำแนะนำ 5 ข้อ สำหรับ นักพัฒนาเว็บไซต์ ยุคใหม่ ครับ

1. Fundamental

หลายครั้งที่เราไม่รู้ว่า โปรแกรมแบบที่ลูกค้าอยากได้ หรือสิ่งที่เราอยากทำ นั้นต้องทำอย่างไร นั่นก็เพราะว่า พื้นฐานความรู้ ในเรื่องนั้นๆ ของเราไม่แน่นพอครับ การมีพื้นฐานความรู้จะทำให้เรา แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกับต่อยอดสิ่งใหม่ๆได้ง่ายกว่ามากครับ

เท่าที่ผมได้ สัมผัสกับนักพัฒนารุ่นใหม่มา นักพัฒนารุ่นใหม่ จะเป็นคนที่ไฟแรงมากๆ อยากทำให้ได้โดยเร็ว จนบางครั้งอาจจะก้าวข้ามเรื่องพื้นฐานไป หรือ นักพัฒนา อาจจะใส่ใจแค่ ผลลัพธ์ของโปรแกรม หรือเว็บไซต์ เท่านั้นครับ แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คนที่พื้นฐานไม่แน่น จะแก้ไขปัญหาโดยใช้เวลานานมาก หรือแก้ไขไม่ได้ครับ ดังนั้น คำแนะนำในข้อนี้ ก็คือ ให้เรา back to basics กลับไปศึกษาพื้นฐานกันให้แน่น แบบจริงจังกันเลยครับ

พื้นฐานสำหรับ นักพัฒนาเว็บไซต์ ทางหน้าบ้าน (Frontend) ก็จะมีภาษา

  • HTML เป็นภาษาสำหรับวางโครงสร้างเว็บไซต์
  • CSS เป็นภาษาสำหรับตกแต่งเว็บไซต์ให้สวยงาม
  • Javascript เป็นภาษาสำหรับทำให้เว็บไซต์โต้ตอบกับผู้ใช้งานได้

ซึ่งถ้ารักจะสร้างเว็บไซต์ จะต้องเรียนรู้สามอย่างนี้ เหมือนกับ วิชาบังคับเลยล่ะครับ

ส่วนทางด้านหลังบ้าน หรือ Server side ก็มีให้เลือกมากมายหลายภาษา

  • PHP เป็นภาษาสำหรับสร้างเว็บไซต์โดยตรง และเรียนรู้ได้ง่ายมากๆ
  • Javascript นอกจากจะใช้บน Frontend แล้ว เรายังสามารถใช้ที่ Server side โดยใช้ตัว Runtime อย่าง Node.js ได้อีกด้วย
  • Python เป็นภาษาสคริปต์ แต่ก็สามารถใช้ในการสร้างเว็บไซต์ได้โดย Frame Work ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงได้แก่ Django ครับ
  • Ruby เป็นภาษาสคริปต์ อีกภาษาหนึ่ง ที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยได้รับความโด่งดังมาจาก Framework อย่าง Ruby on Rails นั่นเองครับ
  • Java เป็นภาษาที่ใช้สำหรับ การเขียนโปรแกรมทั่วไป แต่ก็มี Framework และ API ที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ครับ
  • .NET เป็นภาษาที่ใช้สำหรับ การเขียนโปรแกรมทั่วไป ฝั่ง Microsoft เช่นกัน แต่ก็มี Framework และ API ที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้เช่นกันครับ

สำหรับฝั่ง Server Side ให้เราเลือกภาษาที่เราชอบมา 1 ภาษาแล้วศึกษาได้เลยครับ แต่จะให้แนะนำ ผมคงจะแนะทำให้เป็น PHP หรือ Javascript จะดีกว่า เพราะศึกษาได้ง่ายกว่าภาษาอื่นมากๆครับ

ถ้าพื้นฐานเราแม่นยำแล้ว รับรองว่า เราจะเก่งขึ้นแบบ ทวีคูณเลยทีเดียวครับ

2. Begin with User basis

ไม่ว่า เราจะสร้างเว็บแอ็พพลิเคชั่น หรือว่า จะสร้างเว็บไซต์ เราก็ควรที่จะเรียนรู้ การเป็นผู้ใช้งาน ของเว็บแอ๊พพลิเคชั่น และเว็บไซต์นั้นก่อนว่าเป็นอย่างไร เราจะได้มีไอเดียในการสร้างว่า สิ่งที่เราสร้างมันควรจะมีอะไรบ้าง และมีลักษณะเป็นแบบไหน

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการสร้าง เว็บแอ็พพลิเคชั่น ประเภท CMS ที่เอาไว้บริหารจัดการ Website ถ้าคนสร้าง ยังไม่เคยใช้ เว็บแอ็พพลิเคชั่นประเภทนี้เลยมันก็ดูแปลกๆ ใช่ไหมครับ เราจึงควรที่จะหาประสบการณ์ จากการเป็นผู้ใช้งาน เสียก่อน สักระยะหนึ่ง เพื่อให้เรารู้ว่า เจ้า CMS นี้มันคือ อะไร และ มันเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง หน้าจอมันเป็นอย่างไร ผู้ใช้งาน ใช้งานได้สะดวกหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ซอฟท์แวร์ หรือเว็บแอ็พพลิเคชั่นต่างๆ ก็มีให้ Download ฟรี กันมากมาย เราสามารถเรียนรู้ การใช้งานจาก แอ็พพลิเคชั่นเหล่านี้ได้ครับ

การที่เราได้เห็น ได้เรียนรู้ไอเดีย ที่คนอื่นคิด มันทำให้เราสามารถคิดต่อยอดขึ้นไปได้เรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนมาก ก็เกิดจากการต่อยอดเช่นกันครับ

3. Framework Fancy

ในปัจจุบันนี้ครับ Framework หรือ เครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ มีออกมาหลากหลายมากมาย เรียกได้ว่า ในเดือนหนึ่งออกมาหลายตัวมากๆครับ แล้วเราจะเลือกใช้งาน สิ่งเหล่านี้ อย่างไรดี ผมมีคำแนะนำสำหรับข้อนี้ ดังนี้ครับ

1) Framework หรือ เครื่องมือนี้ ควรจะสร้างมานานพอสมควร

เช่น ถ้าเพิ่งเกิดมา 2 เดือน อันนี้ก็ไม่แนะนำครับ ยิ่งถ้าเรา จะเอามาใช้กับงาน ที่ต้องส่งมอบให้ลูกค้าแล้ว ยิ่งไม่แนะนำครับ เราควรจะหา เครื่องมือที่ เกิดมาแล้วสัก 6 เดือนขึ้นไปจะดีกว่าครับ

2) ความนิยม ของเครื่องมือ หรือ Framework

ถ้าเป็น Opensource เราสามารถดูที่ Github Star ครับว่า คนนิยมใช้กันมากหรือเปล่า กับอีกอย่างที่เราควรจะดูคือ Pulse ครับว่า เจ้า Opensource ตัวนี้ มีกิจกรรมล่าสุดเมื่อไร มีการอัพเดทครั้งล่าสุดเมื่อไร ถ้าอัพเดทครั้งล่าสุดเกิน 1 ปี เราก็หาดูตัวใหม่ดีกว่าครับ เพราะว่า เทคโนโลยีมันเปลี่ยนเร็ว ตัวที่ไม่ค่อยอัพเดท ส่วนมากมักจะใช้ไม่ได้กับ เครื่องมืออื่นๆด้วยครับ

3) มันตรงกับความต้องการของเรา หรือเปล่า

ต่อให้ Framework หรือเครื่องมือเทพแค่ไหน ถ้าไม่มีฟังก์ชันที่เราต้องการใช้แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่เราจะใช้งานมันครับ โดยเราสามารถอ่านได้จาก Readme ไฟล์ หรือ ดูตัวอย่าง หรือ Demo ก่อนได้ครับว่า เจ้าเครื่องมือตัวนี้ มี Function ที่เราต้องการไหมครับ

4) มีคู่มือการใช้งาน ที่ดีหรือไม่

ความเจ็บปวดหนึ่ง ที่นักพัฒนามักจะเจอก็คือ เรื่องคู่มือการใช้งานครับ ถ้ามี Framework ที่ดีแต่ไม่มีคู่มือการใช้งาน เราก็จะใช้งานได้ยากครับ แต่ถ้าเป็น Opensource เราก็สามารถที่จะเปิด Source code ดูเป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ การเปิด Source code เป็นเรื่องที่ดี ยิ่งเราอ่าน Sourcecode รู้เรื่องมากเท่าไร แสดงว่า Framework หรือ เครื่องมือตัวนั้น เขียนมาได้ดีครับ

5) แหล่งอ้างอิง

ให้ลองดูว่า Framework หรือเครื่องมือตัวนี้ได้ถูกใช้ใน Project หรือ Applicaiton ไหนที่เจ๋งๆบ้างหรือเปล่า ถ้ามีใช้งานอยู่ ก็ถือว่า Framework นี้มีความเจ๋งพอสมควร แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับว่า ใช้ในส่วนไหน ถ้าไม่ได้ใช้ในส่วนที่เราอยากใช้ อันนี้ก็ต้องลองดูคำแนะนำข้ออื่น ประกอบการพิจารณาครับ

4. Focus on Core Value

บางครั้งในการพัฒนา เว็บไซต์ หรือเว็บแอพพลิเคชั่น เราอาจจะหลงทางไปกับเทคโนโลยีครับว่า จะพยายามใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร จนเราหลงลืม ไปว่า เรากำลังทำอะไรอยู่

ให้เราพิจารณา และ มุ่งมั่นในการสร้างสิ่งที่เราอยากสร้างก่อน อย่าเพิ่งไปเสียเวลากับการอัพเกรดเทคโนโลยี หรือเปลี่ยน Framework บ่อยๆ เราจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย แต่ถ้าเราคิดว่า เปลี่ยนแล้วคุ้มใช้อันนี้ยาวแน่ๆ เราก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราโฟกัส หรือตั้งเป้าหมายไปที่ Application หรือ เว็บไซต์ของเราก่อนครับ แล้วเราจะได้ ชิ้นงานออกมาครับ เมื่อเรามีชิ้นงานแล้ว การอัพเกรดต่อ หรือ การเพิ่มฟังก์ชันของเรา ก็ยังสามารถทำได้ต่อในภายหลัง ซึ่งดีกว่า ไม่มีชิ้นงานอะไรที่เป็นหลักเลยครับ

5. Multiverse

จริงๆแล้วคำว่า Multiverse นี้ ใช้กับหนังที่มีหลายจักรวาลครับ แต่การเขียนโปรแกรม หรือการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ก็มีหลายจักรวาลเหมือนกัน อย่างเช่น จักรวาลของ WordPress, จักรวาลของ Laravel หรือ แม้แต่จักรวาลของ Node.js เป็นต้นนะครับ

เมื่อเรามีความสามารถ ในระดับที่คิดว่าเจ๋งในจักรวาลหนึ่งแล้ว เราก็ควรจะขยับขยายจักรวาลของเราออกไปครับ เพราะเมื่อเราขยับขยายออกไป สมอง และ สายตาของเราก็จะเปิดกว้างมากขึ้นครับ บางทีเราอาจจะใช้ความรู้จากอีกจักรวาล หนึ่ง มาเพิ่มเติมประสิทธิภาพให้อีกจักรวาลหนึ่ง ก็ยังได้ครับ

เราไม่ควรที่จะยึดติดกับเครื่องมือ หรือ Framework ใดๆ ในการทำงานครับ เพราะมันจะทำให้เรา มีความรู้แค่เพียงจักรวาลนั้น จักรวาลเดียว ดังนั้นเราควรจะพัฒนาตัวเอง เพื่อก้าวไปสู่จักรวาลอื่นๆด้วยครับ อย่างเช่น เมื่อเราเก่ง Java แล้ว ก็อาจจะลองศึกษา Node.js ดูอีกตัวหนึ่งก็เป็นได้ครับ

สำหรับ 5 ข้อนี้ ก็เป็น คำแนะนำ สำหรับ นักพัฒนารุ่นใหม่ ไฟแรงครับ ความสำคัญที่ผมเรียงลำดับให้ไว้ ก็คือ ข้อแรก พื้นฐานสำคัญที่สุดนะครับ ถ้าปราศจากพื้นฐานที่ดีแล้ว เราก็ยากที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปได้ครับ


ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)
ประชาสัมพันธ์
คอร์สเรียนออนไลน์
ทำ Blog ง่ายๆ ใครก็ทำได้

Blog คือ เครื่องมือที่ใช้สร้างโอกาส 

และ สร้างตัวตนได้ ทุกยุคทุกสมัย 

ราคาปกติ 3,990 บาท
Early Bird 1,990 บาท
(สำหรับ 50 ท่านแรก)

พลากร สอนสร้างเว็บ

รับเทคนิค ความรู้ ข่าวสาร การทำเว็บไซต์

จาก พลากร สอนสร้างเว็บ

เฉพาะ สมาชิกเท่านั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *