ตั้งค่าแบบฟอร์มให้ส่งเมล ใน Fluent Form ตอนที่ 3

ตั้งค่าแบฟอร์มให้ส่งอีเมล ใน Fluent Form ตอนที่ 3
https://www.youtube.com/embed/qFcuyEX0e20?feature=oembed&autoplay=1
ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)

สวัสดีครับ สำหรับในวีดีโอนี้ จะเป็นตอนที่ 3 ของ การสร้างแบบฟอร์มด้วย Fluent Form ครับ ซึ่งเป็นตอนที่ สำคัญมากครับ เพราะ จะเป็นตอนที่ตัดสินว่า หลังจากที่ผู้ใช้ หรือ คนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเรา กรอกแบบฟอร์มเสร็จแล้ว จะให้เข้าไปที่ไหนต่อครับ

สอน WordPress ขั้นพื้นฐาน ฉบับสมบูรณ์

ถ้าพื้นฐาน WordPress ยังไม่คล่อง หรือยังไม่มีพื้นฐาน ผมแนะนำบทความนี้ครับ จบทุกพื้นฐาน WordPress ในที่เดียว

ถ้ายังไม่ได้ดูตอนที่ 1 และ 2 กดดูได้ที่นี่ครับ

  1. สร้างแบบฟอร์มด้วย Fluent Form ตอนที่ 1
  2. สร้างแบบฟอร์มขั้น Advance ด้วย Fluent Form ตอนที่ 2

ตั้งค่า Fluent Form

เราต้องเข้าไปที่ แบบฟอร์มของเราก่อนครับ แล้วเข้าไปที่ Settings เราจะเห็นว่า มีตัวเลือก Confirmation Type ให้เราเลือกครับ ตรงนี้เองครับ ที่เราสามารถเลือกได้ว่า เราจะส่งคนที่กรอกแบบฟอร์มไปที่ไหนต่อไป โดยเราสามารถเลือกได้ 3 ที่ครับ

  1. Same Page คือ ให้อยู่ที่หน้าเดิม แต่ขึ้นข้อความว่า แบบฟอร์ม Submit เรียบร้อยแล้ว
  2. To a Page คือ การส่งคนที่กรอกแบบฟอร์ม ไปยังหน้าที่เราเลือกไว้
  3. To a Custom URL คือ ส่งไปที่ URL ที่ต้องการเช่น ไปที่หน้า Facebook Page ของเรา หรือไปหน้า Add Line เป็นต้น

Form Layout

ตรงนี้เราสามารถตั้งค่ารูปแบบ ของฟอร์ม ที่ต้องการจะให้แสดงผลได้ เช่น การตั้งค่าตำแหน่งของ Label , Help Text และ Error Message ของเราได้ตรงนี้

Schedule & Restriction

ตรงนี้ จะเป็นการตั้งค่าที่ Plugin ตัวอื่น จะไม่ค่อยมีให้เห็นใน Version ปกติที่ไม่ใช่ Version PRO ครับ

Maximum Number of Entries

คือการกำหนดว่า เราจะให้ ผู้ใช้ของเรา ส่งข้อมูลเข้าแบบฟอร์ม ได้กี่ครั้งครับ เมื่อหมดครั้งที่เรากำหนดไว้ ระบบจะแจ้งข้อความ ที่เรากำหนดไว้ได้ครับ เช่น “ตอนนี้ แบบฟอร์มของเราได้ถูกกรอกเต็มจำนวนแล้ว”

Form Scheduling

เราสามารถกำหนดได้ว่า จะเปิดให้ผู้ใช้ของเว็บไซต์เรา กรอกแบบฟอร์ม ได้เมื่อไร และ ปิดไม่ให้กรอกเมื่อไร โดยถ้าเรากำหนดวันเริ่ม ไม่กำหนดวันปิด แบบฟอร์ม ก็จะเปิดให้กรอกไปเรื่อยๆ ไม่จำกัดเวลา ซึ่งตรงนี้ เราสามารถใช้ร่วมกัน Maximum Number of Entries ได้ครับ ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ระบุเวลาเปิดแบบฟอร์ม ผู้ใช้ก็สามารถเริ่มกรอกแบบฟอร์มได้ตั้งแต่วันที่เราสร้างแบบฟอร์มเลย

Require user to be logged in

ถ้าเราเปิด Options ตัวนี้ จะหมายความว่า ให้เฉพาะ คนที่กำลัง Login อยู่เท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ กรอกแบบฟอร์มนี้

Deny empty submission

ตัวเลือกนี้ จะไว้สำหรับ ป้องกันการ กรอกแบบฟอร์ม เปล่ามาให้เรา เอาไว้ป้องกัน Spam หรือ การกดรัวเข้ามา

การตั้งค่า การส่งอีเมลใน Fluent Form

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การส่งอีเมลใน Fluent Form เราจะเรียกว่า การสร้าง Notification นั่นเอง ซึ่งเราสามารถ สร้าง Notification ขึ้นมากี่อันก็ได้เท่าที่เราต้องการ นอกจากนั้น เรายังสามารถ ส่งอีเมลไปหา คนที่กรอกอีเมลได้อีกด้วย มาดูการตั้งค่า กันได้เลยครับ

Name

คือ ชื่อของ Notification นี้เอาไว้ให้เราดูในระบบหลังบ้านเท่านั้น จะได้ไม่งง ไม่มีผลต่อการส่งอีเมล

Send To

เราจะเลือกได้ 2 แบบคือ…

  1. Enter Email คือ แบบระบุ อีเมลเอง ซึ่งใน Fluent Form จะใช้ Code ที่เป็นปีกกา อย่างเช่น {wp.admin_email} หมายถึง Email ของ Admin ครับ
  2. Select Field คือ เราสามารถเลือก Field ที่ให้ผู้ใช้ของเรากรอกได้เช่น Field Email ของผู้ใช้งานครับ

Subject

เราสามารถกำหนด หัวข้อ อีเมล ได้ที่นี่ครับ แล้วถ้าต้องการให้ หัวข้อใน Email ดูดีขึ้นไปอีก เราสามารถคลิก บริเวณ … เพื่อเลือก Field ที่เราต้องการเอามาใส่หัวข้อได้อีกด้วยครับ

Email Body

เราพิมพ์อะไร ใส่ลงไปก็ได้เลยครับ แต่ถ้าเราต้องการจะเอาข้อมูลที่ผู้ใช้ของเรากรอก มาใส่ใน เนื้อหาของอีเมล ให้เราใช้ปุ่ม Add Shortcodes ก็จะดึงข้อมูลที่เราต้องการมาใส่ในอีเมลได้แล้วครับ

Advance Settings

เราสามารถที่จะตั้งค่า เชิงลึกได้ดังนี้ครับ

  1. From Name หมายถึง ส่งมาจากใคร
  2. From Email หมายถึง ส่งมาจาก Email ไหน
  3. Reply To หมายถึง เวลาคนที่ได้รับ Notification นี้ กดปุ่ม Reply จะให้ตอบกลับที่เมลไหน
  4. BCC หมายถึงการส่ง Copy แบบลับๆ ให้ Email ที่อยู่ใน ช่องนี้
  5. CC หมายถึง การส่งสำเนา ให้กับ ให้ Email ที่อยู่ใน ช่องนี้

Email Log

ถ้าเราทำเว็บของเราใน Local หรือ ทำในเว็บโฮสติ้งที่ส่งอีเมลไม่ออก แต่เราอยากรู้ว่า อีเมล มีหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องใช้กระบวนท่านี้ครับ เราจะลง Plugin ตัวหนึ่งที่เรียกว่า Post SMTP/Email Log เพื่อที่จะดัก การส่งอีเมลใน WordPress เวลาที่ส่งอีเมลออก Plugin ตัวนี้ก็จะบันทึกข้อมูลเก็บไว้ให้เราดูครับ

เมื่อเราติดตั้งเสร็จแล้ว เราทดลองส่งอีเมล เราสามารถที่จะเข้าไปดูรูปร่างหน้าตาของอีเมลของเรา ที่เมนู Email Log ได้เลยครับ แล้วเราก็จะเห็นว่า แบบฟอร์มของเรา ส่งอะไรออกมาให้เรา

สรุป

Fluent Form Trilogy ของเราก็มาถึงบทที่ 3 แล้ว การสร้างแบบฟอร์มใน WordPress จริงๆแล้วไม่ยากครับ ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่เราใช้งาน ซึ่งในสมัยนี้ มีการแข่งขันกันสูงมาก เราจึงมีเครื่องมีดีๆ มาใช้ค่อนข้างเยอะ แต่พอมีการแข่งขัน Developer ก็ต้องทำมาหากิน โดยการออก Version PRO มาเสมอ ซึ่งแต่ละยี่ห้อ ก็ค่อนข้างแข่งขัน Version PRO กันอย่างดุเดือด แต่ตัว Fluent Form ถือว่า ดีในระดับหนึ่งครับ บาง Feature ที่ค่ายอื่น ทำอยู่ในตัว PRO ก็สามารถเอามาใช้ได้เช่น การจำกัด Entries และ การใช้ Conditional Logic ครับ

Version PRO ของ Fluent Form ไปส่องดูกันที่นี่ครับ
https://go.palamike.com/fluentformep3


ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)
ประชาสัมพันธ์
คอร์สเรียนออนไลน์
ทำ Blog ง่ายๆ ใครก็ทำได้

Blog คือ เครื่องมือที่ใช้สร้างโอกาส 

และ สร้างตัวตนได้ ทุกยุคทุกสมัย 

ราคาปกติ 3,990 บาท
Early Bird 1,990 บาท
(สำหรับ 50 ท่านแรก)

พลากร สอนสร้างเว็บ

รับเทคนิค ความรู้ ข่าวสาร การทำเว็บไซต์

จาก พลากร สอนสร้างเว็บ

เฉพาะ สมาชิกเท่านั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *