โดเมน และโฮสติ้ง คืออะไร สิ่งที่คนอยากทำเว็บไซต์ ทุกคนต้องรู้ ก่อนทำเว็บไซต์ ถ้าเข้าใจจุดนี้แล้ว การทำเว็บไซต์ต่อไป จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ดึงดูดคนที่เข้ามาดูได้ดียิ่งขึ้น
โดเมนเนม คืออะไร ?
โดเมนเนม ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ , ที่อยู่เว็บไซต์ หรือ ก็คือ สิ่งที่เราพิมพ์ลงไปในเว็บบราวเซอร์นั่นเอง ตัวอย่างเช่น เวลาเราจะเข้า google เราจะพิมพ์ว่า www.google.com สิ่งนี้ก็คือโดเมนเนมนั่นเอง โดยโดเมนเนม จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นับจากหลังมาหน้า จากตัวอย่างก็คือ- .com เราเรียกว่า top-level domain เปรียบเสมือน นามสกุลของเว็บไซต์เราเลยทีเดียว
- google เราเรียกว่า ชื่อโดเมน เป็นชื่อเฉพาะของโดเมนเรา มักจะเป็นชื่อบริษัท องค์กร หรือร้านค้าของเรา
- www เราเรียกว่า subdomain เป็นชื่อของแฟ้มย่อยในโดเมนของเรา ซึ่ง www ก็คือ เว็บไซต์นั่นเอง จริงๆแล้วส่วนนี้ไม่ต้องใช้ก็ได้ ถ้าเราไม่มีแฟ้มย่อยหรือมีแค่ เว็บไซต์อย่างเดียว
Top-Level Domain คืออะไร แล้วมีอะไรกันบ้าง
Top-Level Domain ตัวย่อก็คือ TLD ใช้สำหรับการจัดกลุ่มเว็บไซต์ ยกตัวอย่างนะครับ- .com หมายถึง บริษัท หรือ องค์กร
- .net หมายถึง ผู้ให้บริการเครือข่าย
- .org หมายถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
- .co.th หมายถึง บริษัท หรือ องค์กร ในประเทศไทย
- .net.th หมายถึง ผู้ให้บริการเครือข่าย ในประเทศไทย
- .or.th หมายถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในประเทศไทย
- .ac.th หมายถึง องค์กรการศึกษา ในประเทศไทย
- .go.th หมายถึง องค์กรภาครัฐ ในประเทศไทย
สำหรับการเลือกโดเมนเนม ที่ดี ก็จะมีเคล็ดลับ ดังต่อไปนี้ครับ
- ชื่อสั้นไว้ก่อน ชื่อสั้น มีโอกาสที่คนจะจดจำได้มากกว่า แน่นอนครับ
- .com ไว้ก่อน คนส่วนมาก ก็ยังคิดว่า เว็บไซต์ต้อง .com นะครับ ดังนั้น .com จึงเป็นที่จดจำกันได้มากกว่า
- ชื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือเป็นชื่อเฉพาะของธุรกิจครับ เช่น amazon.com ก็คือ บริษัทอเมซอน ส่วน gmail.com ก็คือบริการอีเมลล์ สังเกตุว่ามีคำว่าเมลล์อยู่ในนั้นครับ
โฮสติ้ง คืออะไร ?
ถ้าโดเมนเป็นที่อยู่เว็บไซต์ของเราแล้ว โฮสติ้งก็คือ บ้านของเรานี่แหล่ะครับ โฮสติ้งถ้านำมาใช้กับเว็บ เราเรียกว่า เว็บโฮสติ้งครับ ซึ่งเว็บโฮสติ้งจะมีการใช้งานดังนี้ครับ- เก็บไฟล์ต่างๆ ของเว็บไซต์เรา ตั้งแต่ไฟล์ซอฟท์แวร์ ของเว็บไซต์เรา และ ไฟล์รูปภาพต่างๆ
- เก็บฐานข้อมูลของเว็บไซต์เรา เว็บไซต์ สมัยใหม่ จะมีฐานข้อมูลกันหมดแล้ว ดังนั้นเว็บโฮสติ้งก็ควรจะ รองรับด้วย
- ออนไลน์ 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายของเรา เข้ามาดูเว็บไซต์ได้
ข้อสังเกตเวลาที่เราจะเลือก เว็บโฮสติ้ง ก็คือ
- ขนาดพื้นที่ที่เราจะใช้งานได้ครับ ก็ควรจะมีขนาด 2GB เป็นขั้นต่ำ
- ดูว่ารองรับ PHP และ MySQL หรือไม่ ซึ่ง PHP และ MySQL นี้ต้องมีเวอร์ชั่น ไม่ต่ำกว่า 5.6 ทั้งคู่เลยครับ จะได้ติดตั้งพวก CMS Software เวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้
- อัตรารับส่งข้อมูล สิ่งนี้ก็คือ เวลาที่มีคนเข้ามาดูเว็บเรา เราก็จะต้องส่งข้อมูลออกไปครับ มีหน่วยเป็น ไบท์ สำหรับเว็บทั่วไปแล้ว อัตราการส่งข้อมูล ควรจะไม่น้อยกว่า 100 GB ต่อเดือนครับ
Pingback: สอน Wordpress ตั้งแต่พื้นฐาน ทำตามได้ทันที