ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)
ติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง จริงๆแล้วไม่ยาก ถ้าอยากทำเว็บไซต์บนเว็บโฮสติ้งเลย ก็ใช้วิธีนี้ติดตั้งได้ แต่ปกติแล้ว เรามักจะติดตั้ง WordPress บนเครื่องของเราก่อน จนเมื่อเราพัฒนาเสร็จค่อย ย้ายจากเครื่องเราไปบนเว็บโฮสติ้งทีเดียวครับ สำหรับใครที่อยากลองติดตั้งบนเว็บโฮสติ้งเลย ก็มาศึกษาดูกันเลยครับ
ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ WordPress มายังเครื่องของเราก่อน
เข้าไป ดาวน์โหลดได้ที่ https://th.wordpress.org/ สำหรับภาษาไทยนะครับ ณ เวลาที่ผมเขียนหนังสือเล่มนี้อยู่ Version ล่าสุดจะเป็น 4.5.1 ตามรูปนะครับ สามารถคลิกเพื่อดาวน์โหลดได้เลย เน้นนะครับว่า ต้องเข้า wordpress.org นะครับ ไม่ใช่ .com
ต่อมาก็ทำการคลาย zip ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาครับ ชื่อไฟล์ที่เราดาวน์โหลดมาจะเป็น wordpress-[version]-th.zip นะครับในกรณีตัวอย่าง เป็น wordpress-4.5.1-th.zip
เตรียมอัพโหลดเพื่อติดตั้ง WordPress
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเลยก็คือ
- โฮสเนมสำหรับเชื่อมต่อส่งไฟล์ (โดยทั่วไปคือ โดเมนเนม)
- ชื่อผู้ใช้งานส่งไฟล์ (FTP User)
- รหัสผ่านสำหรับส่งไฟล์ (FTP Password)
- พอร์ทของ FTP (โดยส่วนมากคือพอร์ท 21)
- ชื่อแฟ้มที่เป็นพื้นที่เว็บไซต์ของเรา (ส่วนมากจะเป็น htdocs หรือไม่ก็ public_html)
- ชื่อฐานข้อมูล (Database Name)
- ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล (Database User Name)
- รหัสผ่านฐานข้อมูล (Database User Password)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสอบถามได้จากทางเว็บโฮสติ้งที่เราเช่าอยู่ครับ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เตรียมอัพโหลดกันได้เลย ถ้าใครยังไม่มีโปรแกรมสำหรับอัพโหลด สามารถดาวน์โหลด FileZilla มาติดตั้งได้เลยครับ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://filezilla-project.org/ ได้เลยครับ ให้เราคลิกที่ Download FileZilla Client นะครับ
เมื่อ ดาวน์โหลดมาแล้วก็ทำการดับเบิ้ลคลิกเพื่อติดตั้งเลยครับ ติดตั้งเสร็จแล้วก็เปิดโปรแกรมขึ้นมาเลยครับ ก็จะได้หน้าตาแบบนี้ครับ
ด้านซ้ายจะเป็นเครื่องของเรา ด้านขวาจะเป็นเครื่องของ เว็บโฮสติ้งนะครับ ตอนนี้เรายังไม่ได้เชื่อมต่อ จึงไม่เห็นไฟล์ใดๆฝั่งเว็บโฮติ้งนะครับ ส่วนฝั่งเครื่องเราที่แฟ้มปัจจุบัน และแฟ้มย่อยคลิกได้ครับ ลองคลิกเพื่อไปหาแฟ้ม wordpress ที่เราคลายไฟล์ไว้เตรียมพร้อมเลยครับ
จากนั้นให้เรากรอกข้อมูลที่เราได้มาจากเว็บโฮสติ้ง บนแถบด้านบนครับ แล้วกดปุ่ม Quickconnect จะได้ตามรูปครับ ทางฝั่งขวาจะเห็นรายชื่อแฟ้มบนเครื่องเว็บโฮสติ้งแล้วครับ
เห็นแบบนี้แล้ว ทางซ้ายคือเครื่องของเรา เมื่อเราไปที่แฟ้ม wordpress ที่เราแตกไฟล์แล้ว เราจะเห็นไฟล์มากมายเลย ให้เราเข้าไปที่แฟ้มที่เป็นพื้นที่เว็บของเราทางด้านขวา ของผมคือ htdocs นะครับ ข้อมูลนี้ได้มาจากเว็บโฮสติ้งเช่นกัน
ที่ด้านขวา ให้เราดับเบิ้ลคลิกที่แฟ้มเป้าหมายของเราไว้ก่อนครับ ในที่นี้คือ htdocs แล้วโปรแกรม File Zilla FTP จะพาเราเข้าไปในแฟ้มดังกล่าวครับ
เสร็จแล้วให้เราเลือกไฟล์ทั้งหมดของฝั่งซ้ายโดยการ เลือกที่ไฟล์แรกให้เป็นสีฟ้า
จากนั้นกดปุ่มบนคีย์บอร์ด ถ้าเป็นระบบ Windows ให้กด ปุ่ม Ctrl และ ปุ่ม A พร้อมกัน ถ้าเป็นเครื่อง Mac ให้กด ปุ่ม Command และ ปุ่ม A พร้อมกัน จะได้ฟ้าทุกไฟล์ตามรูป
เมื่อซ้ายพร้อมขวาพร้อม ให้คลิก
ขวาบนไฟล์สีฟ้าๆ ที่เราได้เลือกเอาไว้ แล้วเลือกเมนู Upload ตามภาพด้านล่างครับ
แล้วรอจนว่าจะอัพโหลดเสร็จเรียบร้อย โดยสังเกตุว่า ด้านขวาจะมีไฟล์ที่เราอัพโหลดโผล่มาอย่างอัตโนมัติ
สังเกตุว่า ด้านล่างจะมีตัวเลขแค่ที่ แถบ Successful เท่านั้น และด้านขวาก็จะมีไฟล์ของเราอัพโหลดขึ้นมา เป็นอันเสร็จสิ้น การอัพโหลดไฟล์
ติดตั้ง WordPress
ขั้นตอนนี้เรามีทุกอย่างพร้อมแล้ว ไฟล์ก็อัพโหลดขึ้นเว็บโฮสติ้งไปแล้ว ให้เราเปิด เว็บบราวเซอร์ของเรา แล้วพิมชื่อโดเมนของเราเข้าไปครับ แล้วกดปุ่ม Enter แล้ว WordPress ก็จะพาเรามาที่หน้าติดตั้งครับ
กดปุ่ม เริ่มทำงานได้ เพื่อไปหน้าต่อไปครับ จากนั้น ให้เรานำข้อมูลที่ได้จากเว็บโฮสติ้ง มากรอกข้อมูลสามช่องนี้ครับ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จ ให้กดปุ่ม ส่ง ทางซ้ายล่างนะครับ
พอถึงหน้าด้านล่างนี้นี้ ก็กดปุ่ม ดำเนินการติดตั้งได้เลยครับ
พอถึงหน้าต่อไปก็กรอกข้อมูลลงไปเลยครับ
- หัวข้อเว็บ คือ ชื่อของเว็บไซต์ ที่จะขึ้นมาบนส่วนหัวของเว็บ
- ชื่อผู้ใช้ คือ ชื่อที่จะใช้ในการเข้าระบบมาอัพเดทข้อมูล เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
- รหัสผ่าน คือ รหัสผ่านที่จะใช้ในการเข้าระบบมาอัพเดทข้อมูล เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
- อีเมลล์ ให้กรอกอีเมลล์ของเราลงไป
- การเข้าถึงของเสิร์ชเอ็นจิน อันนี้ไม่ต้องติ๊กอะไรครับ
จากนั้นกดปุ่ม ติดตั้งเวิร์ดเพรส
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็จะได้หน้านี้ครับ จากนั้นให้เราคลิกที่ปุ่ม เข้าสู่ระบบ ครับ
ก็จะได้หน้าจอแบบด้านล่างนี้ครับ ให้เรากรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่เราตั้งไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ลงไปครับ ก็จะสามารถเข้าสู่ระบบได้เป็น หน้าจอถัดไปครับ
พอเข้าระบบได้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการครับ ครั้งต่อไปถ้าเราอยากจะเข้าสู่ระบบเวิร์ดเพรสอีกครั้ง ให้เรา พิมพ์ ชื่อโดเมน/wp-admin บนเว็บบราวเซอร์นะครับ ตัวอย่างเช่นของผมเป็น learnwp.int/wp-admin ก็จะเข้าสู่หน้าจอเข้าสู่ระบบอีกครั้งหนึ่งครับ แต่ถ้า เรายังอยู่ในระบบอยู่ เวิร์ดเพรสก็จะแสดงหน้าจอควบคุมขึ้นมาแบบด้านล่างนี้ครับ
สรุปการติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง
การติดตั้งเวิร์ดเพรส มี 3 ขั้นตอนหลักคือ
- ดาวน์โหลดเวิร์ดเพรส จากเว็บไซต์ th.wordpress.org
- คลายไฟล์แล้วอัพโหลดขึ้นไปที่เว็บโฮสติ้ง
- ติดตั้งเวิร์ดเพรสจากเว็บบราวเซอร์
เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็สามารถทดลองเพื่อเข้าสู่ระบบดูได้ครับ จากนั้นเมื่อต้องการเข้าระบบอีกครั้งให้ ให้เรา พิมพ์ ชื่อโดเมน/wp-admin บนเว็บบราวเซอร์ ตัวอย่างเช่นของผมเป็น learnwp.int/wp-admin ก็จะเข้าสู่หน้าจอเข้าสู่ระบบอีกครั้งหนึ่งครับ
ถ้ามีคำถามอะไรก็สามารถ Comment กันมาได้เลยครับ ในบทความต่อๆไป เราก็จะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเกี่ยวกับ WordPress มากขึ้นนะครับ คอยติดตามและเป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ
ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)
ขอบตุณมากค่ะ ติดตามอ่านและทาง Youtube และทำตาม ตอนนี้ทำได้แล้วค่ะ
เยี่บมเลยครับผม 🙂