สวัสดีครับ ในวีดีโอนี้ ก็จะเป็นอีกเทคนิคหนึ่งนะครับ ที่จะทำให้เว็บเรามีคนเข้ามาดูมากขึ้น และนั่นก็คือเทคนิค… การใส่ปุ่ม Social Share ใน WordPress นั่นเองครับ การใส่ปุ่ม Social Share จะช่วยให้คนที่เข้ามาดูเว็บเรา สามารถกดแชร์บทความที่อยู่ในเว็บของเราได้เลย ถ้าบทความของเราเกิดไวรัลขึ้นมาล่ะก็ ไม่ต้องคิดเลยครับว่ายอดวิวจะขนาดไหน เดี๋ยวเราลองมาดูกันเลยดีกว่าครับว่า ทำอย่างไร
ติดตั้ง Plugin Simple Share Buttons Adder
เมื่อเราอยู่ที่ระบบหลังบ้านของ WordPress แล้ว ให้เราไปที่เมนู Plugin แล้วก็ปุ่ม Add New กันเลย จากนั้นค้นหา Plugin ที่ชื่อ “Simple Share Buttons Adder” ของแท้ต้องมาจาก “Simple Share Buttons” นะครับ ดูตรง By ได้เลย
จากนั้นกด Install Now ได้เลย เมื่อ Install เสร็จแล้ว ก็ตามด้วย Activate ได้เลยครับ หลังจากทำการ Activate แล้ว เราก็มาเริ่มใช้งานกันเลย
เริ่มใช้งาน Simple Share Buttons Adder
ให้เราไปที่ Settings แล้วไปที่เมนู Simple Share Buttons เราก็จะเห็นเป็น Tab ให้เลือกครับ ให้เราดูที่ Tab Core ก่อนครับ ไม่ใช่ คอ ที่อยู่บนบ่าเรานะครับ 😀
ใน Tab นี้เค้าจะให้เราเลือกว่า จะให้เราปุ่มของเราอยู่ที่หน้าไหนบ้างครับ ผมก็จะเลือกว่า ให้อยู่หน้า Post เดี่ยวๆ ก็แล้วกันครับ ลองเลือกเป็น On ดูครับ
ต่อมาให้เลือก Placement ครับว่า จะให้อยู่ ก่อน หรือ หลัง เนื้อหาครับ โดยผมเลือกให้อยู่หลังครับ และ ตรง Share Text ตรงนี้นะครับ จะเป็น Text ที่แสดงก่อน Icon ครับ ผมจะใส่เป็น แชร์ให้เพื่อน เอาไว้แล้วกันครับ จากนั้นก็อย่าลืม Save นะครับ แล้วมาทดสอบดูกันครับ
จะเห็นได้ว่า เจ้าปุ่ม Share Buttons โผล่มาแล้วนะครับ แต่เดี๋ยวเราจะมาปรับแต่งเพิ่มเติมกันอีกหน่อยครับ ลองคลิกดูก็สามารถแชร์ลง Social กันได้เลยครับ
ปรับแต่ง Simple Share Buttons Adder
เริ่มต้นเลย เรามาเลือก Social Media ที่เราต้องการกันดีกว่าครับ สมมุติว่าเราไม่ต้องการ Linked In เราก็จับลากออกไปได้เลย แล้วเราจะเอา Pinterest มาใส่แทนก็ได้ครับ หรือจะเอา อีเมลล์มาเพิ่มใส่ก็ได้ครับ
อ้อ แล้วอีกอย่างหนึ่งนะครับ ถ้าไม่ต้องการให้มีตัวอักษร เราสามารถลบตรง Share Text ทิ้งไปได้นะครับ
จากนั้น มากด Save ดูครับ แล้วลองไป ดูหน้าเว็บของเรากัน จะเห็นว่าเว็บของเรา เปลี่ยนไปตามที่เราปรับแต่งแล้วครับ
ปรับแต่ง Style ให้กับ WordPress Simple Share Buttons Adder
ต่อมาให้เรามาที่ Tab Styles นะครับ อันแรกเลย ลองมาดูที่กลุ่ม Images ตรง Image Set เราสามารถเลือก Style ของ Icon ได้นะครับ
ต่อมาเราก็สามารถเลือกขนาดและการจัดตำแหน่งได้ครับว่า เราจะจัดซ้ายจัดขวา จัดกลางอย่างไร
และตรง Padding เราสามารถกำหนดระยะห่างได้ครับ ลองกำหนดดูได้ครับ แล้วจากนั้นก็อย่าลืม กด Save นะครับ แล้วมาลองดูการเปลี่ยนแปลงกันนะครับ
จะเห็นได้ว่า เว็บของเราเปลี่ยนแปลงไปตามที่เราเลือกแล้วนะครับ
ปรับแต่ง Style กันต่อ
ต่อมาเรามาดูที่ Share Text กันครับ ถ้าใครมีใส่ตัวหนังสือเอาไว้ ก็สามารถ ปรับแต่งได้ตรงนี้ครับ โดยเราสามารถปรับแต่งสี Font ประเภท Font และขนาดของ Font ได้ครับ แต่ตรงนี้เราไม่มีตัวหนังสือ ผมจะข้ามในส่วนนี้ไปนะครับ
ต่อมาที่ Container ครับ Container ก็คือ กล่องที่ใส่เจ้า icon นี้อยู่นั่นเองครับ แต่ตอนนี้ กล่องนี้เค้ามีพื้นหลังที่โปร่งใสอยู่เราเลยมองไม่เห็นครับ เรามาลองปรับแต่งกันดูเลยครับ
- Container Padding คือระยะห่าง ระหว่าง ขอบกล่องถึง icon ครับ ว่าระยะห่างเท่าไร ตัวเทาๆ คือค่าเริ่มต้นครับ เราลองใส่ไปสัก 20 ดูก็ได้ครับ
- Container Background Color เป็นพื้นหลังของกล่องนี้ครับ
- Container Border Color คือขอบของกล่องนี้ครับ
- Container Border Width คือความกว้างของขอบกล่องครับ
- Rounded Container Corners คือ ทำให้มุมของกล่องนี้มนนะครับ แต่ไม่ใช่ หนุ่มหน้ามนนะครับ 😀
ปรับแต่งเสร็จแล้ว ก็มาดูความเปลี่ยนแปลงกันเลยนะครับ จะเห็นได้ว่า กล่องของเราเปลี่ยนแปลงตามที่เราปรับแต่งครับ ทั้งระยะห่าง พื้นหลัง ขอบกล่องนะครับ
Share Buttons Count
มาดูกันต่อครับ นอกจากนั้น Plugin นี้ยังมีความสามารถที่จะแสดง ตัวนับการกดไลค์ได้ด้วยครับ ซึ่งสามารถเปิดใช้งาน และ เลือก Style ได้เลย
ลองทดสอบดูกันครับ เราก็จะได้ตัวเลข ออกมาแบบที่เห็นเลยครับ
กลับมาดูที่หน้า Admin ครับ สำหรับผู้ใช้ Twitter สามารถเลือกใช้ sharedcount.com account ได้ด้วยนะครับ และ ถ้าใครมีปัญหาเรื่องตัวนับของ facebook ก็สามารถใช้ sharedcount ตัวนี้ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าให้แนะนำ ผมไม่ใช้ตัวนับครับ เพราะมันทำให้เว็บเราโหลดช้าลงครับ และ ไม่คุ้มค่ากับผลตอบรับจากตัวนับที่ได้ครับ
Advance
ตัวปรับแต่งที่ Tab Advance ครับ ว่ากันตรงๆเลยครับว่า เราไม่ค่อยได้ใช้ Tab นี้เท่าไร แต่เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังครับ
- Share Text Link เอาไว้ใส่ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ของ Plugin ครับ เพื่อช่วยสนับสนุน Plugin
- Content Priority ใช้ในกรณีที่มี Plugin ประเภทที่ใส่ข้อมูล ก่อน หรือ หลังเนื้อหาโพสของเราติดตั้งอยู่ด้วยครับ ใส่เพื่อให้รู้ว่า เจ้า Share Button จะออกมาในลำดับที่เท่าไร
- Add rel=“No Follow” เป็นการบอก Search Engine Bot ว่าไม่ต้องตาม Link นี้ไปครับ
- Widget Share Text ใช้ตอนที่เราใช้เจ้า Simple Share Buttons ใน Mode Widget ครับ
- Email Text ใช้สำหรับปุ่ม Share ด้วย Email ครับ
- นอกจากนั้นก็จะเป็นตัวข้อมูลของ Social บางตัวเช่น Facebook APP ID จะใช้ในกรณีที่เราต้องการทำ Page Insights เพื่อติดตามการกด Share
- Twitter Text ใช้เมื่อคน Share ผ่าน Twitter
- Flattr อันนนี้ ไม่รู้ครับ ไม่เคยใช้งานเลย
- Buffer Text อันนี้ใช้เมื่อคนแชร์ผ่าน Buffer App ครับ
- Pin Feature Image ใช้กับ Pinterest เพื่อทำการ Pin รูปภาพประจำโพสของเรา
- Default Pinterest Image ใช้ตอนที่เราไม่มีรูปภาพใน Post สำหรับ Pinterest
ลองมาดู Tab ต่อไปกันเลยดีกว่าครับ
CSS
- Additional CSS – คือการเพิ่มเติม Code Css เข้าไป
- Custom CSS – คือการไม่ใช้ Code Css ที่มีมา แต่ใส่ของเราเข้าไปแทน
Tab นี้จะเหมาะสำหรับ Developer มากกว่าครับ
Widget Mode
นอกจากนั้น เรายังสามาถที่จะใช้งานเจ้า Share Button ใน Mode Widget ได้อีกด้วยครับ ให้เราไปที่ Menu Appearance > Widgets จากนั้นก็ไปใส่เจ้า Share Button อันนี้ได้เลยครับ
พอใส่เสร็จแล้ว จะมี Options ให้เราใส่ครับ URL ถ้าเราไม่ใส่ ก็จะเป็นการแชร์หน้าที่เปิดอยู่ครับ แต่ถ้าเราใส่ ก็จะเป็นการแชร์หน้าที่เรากำหนดครับ
Page Title เป็นการใส่ Title ของหน้าที่จะ Share ครับ แต่ถ้าเราไม่ใส่ URL ก็ไม่ต้องใส่ค่านี้ครับ
จากนั้นกด Save ได้เลย แล้วไปดูที่หน้าบ้านกัน
จะเห็นได้ว่า ปุ่ม Share ออกมาที่ Sidebar ในรูปแบบของ Widget แล้วครับ แล้วเราก็สามารถกด Share ได้เลย
สรุป
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเพิ่มยอดคนดู ผ่านการแชร์บทความของเราด้วยปุ่ม Social Share กันแล้วนะครับ
ปุ่มแชร์ เฟชบุค error sorry, this feature isn’t available right now.An error occurred while processing thos request. Please try again later อะคับ ผมใส่ ใว้ข้างล่างโพส แต่ปุ่มแช ที่ผม สร้างใว้ ใน widget กลับใช้ได้ อะคับ
รอสักพักครับ แล้วลองใหม่ครับผม ถ้าปุ่มแชร์อยู่ในหน้าเดียวกันหลายที่ อาจจะชนกันได้บางครั้งครับ